6 ทักษะการสะท้อนคิด
น้อง ๆ รู้ไหมครับว่า พรบ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมการกระทำระบบคอมพิวเตอร์ หากผู้ใดกระทำผิดก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 กำหนดไว้ ดังนั้น เรามาดูกันเลยว่าข้อห้ามที่สำคัญที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “ไม่ควรทำ” มีอะไรบ้าง
แฮคเฟซบุ๊ก!! ชาวบ้านเค้ามันไม่ดีนะ (มาตรา 5-8) การปล่อยไวรัสหรือมัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อขโมยข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว มีโทษฐานผิด พรบ.คอมพิวเตอร์
- เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
- เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
- นำมาตรการป้องกันระบบไปเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
- ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ!!
หยุด!! แก้ไข ดัดแปลงข้อมูล (มาตรา 9-10) การเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบ รวมถึงการเข้าไปดัดแปลง หรือทำลายข้อมูล ทำให้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามเสียหาย นับเป็นความผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับค่ะ
ห้าม!! ฝากร้านตาม เฟซบุ๊กและ อินสตาแกรม เด็ดขาด! (มาตรา 11) สำหรับพ่อค้าแม่ออนไลน์ เรื่องการส่งอีเมลขายของโดยที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับนั้น ถือเป็นการสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ก็ตามมีโทษผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ โดยปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับนะครับ
อย่า!! แอบเข้าระบบของหน่วยงานภาครัฐนะครับ (มาตรา 12) เพราะการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลด้านความมั่นคง รวมถึงการโพสต์เนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่อประเทศบนโลกออนไลน์ ถือว่าเข้าข่ายทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก มีโทษแบ่งตาม พรบ. คอมพิวเตอร์เป็นกรณีดังนี้
- กรณีไม่เกิดความเสียหาย จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
- กรณีเกิดความเสียหาย จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท
โพสต์ข่าวปลอมก่อให้เกิดความเสียหาย (มาตรา 14) การเผยแพร่ข่าวปลอม ธุรกิจลูกโซ่ โพสต์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย การก่อการร้าย รวมถึงข้อมูลลามก หากส่งผลถึงประชาชน จะต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเนื้อหานั้นส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับค่ะ
คอมเม้นต์ในข่าวปลอมก็ผิดนะครับ (มาตรา 15) การเข้าไปคอมเม้นต์แสดงความคิดเห็นในโพสต์ที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย ก็ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่ยอมลบจะได้รับโทษเดียวกันกับมาตรา 14 เหมือนกันกับผู้โพสต์แต่ถ้าหากว่าลบออกไปแล้ว ถือว่าพ้นผิด ในส่วนของผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือในกรณีที่ศาลสั่งจะต้องเก็บข้อมูลไม่เกิน 2 ปีครับ
แค่ตัดต่อรูปภาพก็ผิด (มาตรา 16) โดยการตัดต่อดัดแปลงภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และเกิดความเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพผู้เสียชีวิตที่ทำให้พ่อ – แม่ คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาทครับ
ต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (มาตรา17) หลายคนคงสงสัยว่าเวลาที่มีคนแชร์ข่าวปลอม หรือมีการโพสต์เรื่องหมิ่นประมาท เจ้าหน้าที่รัฐเอาหลักฐานที่ไหนมาจับคนที่กระทำความผิด นี่เลยค่ะ มาตรา 17 นี้เองที่ระบุว่า องค์กรหรือหน่วยงานที่ให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องติดตั้งระบบเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หากไม่มีการจัดเก็บองค์กรหรือหน่วยงานนั้น จะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทค่ะ
สรุปทักษะการสะท้อนคิด คือ ความสามารถในการแสดงความคิดเห็น การโต้ตอบและการเชื่อมโยงเนื้อหาสารสนเทศไปยังบุคคลอื่น ๆ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเรียน การทำงาน และการให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ทักษะการสะท้อนคิดจะต้องอยู่บนพื้นฐานจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมด้วยครับ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์” จาก www.ragnar.co.th/blog/what-is-the-computing-act