7 ทักษะการปฎิบัติ
สื่อดิจิทัลนอกจากจะอำนวยความสะดวกให้กับเราแล้ว ยังมีพฤติกรรมการใช้งานสื่อดิจิทัลที่ผิด และยังคงเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ในสังคม มีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันเลยครับ
1. การเล่นอย่างไม่รู้เวลา
วัยรุ่นเป็นวัยกำลังมุ่งมั่นต่อการเรียนรู้ แต่หากสิ่งที่กำลังสนใจเป็นเรื่องของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มากเกินไป หรือการเล่นเกมที่มากเกินไป อาจจะทำให้เสียสุขภาพร่างกาย รวมถึงสุขภาพจิต การเสพติดสื่อดิจิทัลมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ใช้งานสร้างโลกส่วนตัวตัดขาดจากโลกภายนอก และอาจจะส่งผลต่อตนเองในระยะยาวอีกด้วยนะครับ
2. การถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์หรือการบูลลี่
การด่าทอหรือถูกการบูลลี่ในโลกออนไลน์ที่มักจะเห็นกันจนชินตาในโลกออนไลน์ ได้แก่ การรุมด่า การล้อเลียน การใช้ถ้อยคำเสียดสี ก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่ถูกกระทำ อาจส่งผลเกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า หรือในบางคนอาจคิดสั้นได้ครับ
3. การถูกคุมคามทางเพศ
เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังให้ความสนใจต่อเพศตรงข้าม อยากรู้อยากลอง สื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นสื่อดิจิทัลที่เป็นตัวกลางในการใช้ติดต่อสื่อสาร ซึ่งหากเป็นการพูดคุยในการทำความรู้จักกันก็เป็นเรื่องที่ดี แต่หากใช้ในเรื่องของการหลอกลวง อาจเสี่ยงต่อการถูกข่มขืนหรือถูกทำร้ายร่ายกายได้ครับ
4. การแสดงออกในทางที่ผิด
การแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ดี และทุกคนมีเสรีในการแสดงความเห็นต่าง แต่หากการแสดงความคิดเห็นถูกใช้เพื่อคุกคามผู้อื่นและสร้างความเสียหาย ก็ก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้เช่นกันครับ ดังนั้น การแสดงออกทางความเห็นควรจะต้องมีขอบเขต เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขครับ
5. การตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในโลกออนไลน์
หากน้อง ๆ ขาดวิจารณญาณในการใช้งานสื่อออนไลน์ ในบางครั้งอาจรู้ไม่เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ เช่น ถูกหลอกให้ซื้อสินค้า ถูกหลอกให้โอนเงิน และถูกหลอกให้ขายบริการทางเพศ ดังนั้น เราควรมีสติและตรวจสอบข้อมูลที่มาจากสื่อออนไลน์ อย่าหลงเชื่อคนง่าย และควรปรึกษาการทำธุรกรรมต่าง ๆ กับผู้ปกครอง เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ