1 ทักษะการเข้าถึง
หนูลองใช้แอปพลิเคชันถ่ายภาพแล้วค่ะ ทำไมบางภาพก็เป็นไฟล์ JPG บางภาพก็เป็นไฟล์ PNG คะ
นอกจากการใช้งานแอปพลิเคชันกับอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ว น้อง ๆ จะต้องรู้จักการจัดการกับข้อมูลที่พบเห็นได้จากสื่อดิจิทัลในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในครั้งต่อไปได้ เรามาทำความรู้จักกับประเภทของไฟล์ที่พบได้เห็นในชีวิตประจำวันกันเลยครับ
1. ประเภทรูปภาพและกราฟฟิก
Jpeg เป็นไฟล์รูปภาพที่นิยมใช้มากที่สุด โดยเฉพาะภาพถ่ายที่สามารถเก็บความละเอียดได้สูงในขณะที่ขนาดไฟล์นั้นมีขนาดเล็ก
เป็นไฟล์ภาพที่สามารถแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ เหมาะกับการเก็บไฟล์รูปภาพขนาดเล็ก และมีจำนวนของสีน้อยแสดงสีสูงสุดได้แค่ 256 สี และสามารถทำพื้นหลังโปร่งใสได้อีกด้วย
เป็นรูปแบบไฟล์ภาพที่สามารถทำเป็นพื้นหลังโปร่งใสได้ และยังแสดงความละเอียดของภาพได้ดีพอกับ .jpg แต่ว่าไม่สามารถทำภาพเคลื่อนไหวได้เหมือน GIF
Bitmap เป็นไฟล์ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้แสดงผลภาพกราฟิกโปรแกรมวินโดวส์ ไม่มีการบีบอัดความละเอียด ไฟล์จึงมีขนาดใหญ่
เป็นไฟล์รูปภาพขนาดใหญ่ เพราะแสดงภาพที่ละเอียดมาก คุณภาพสูง รองรับระบบสีได้หลายแบบทั้ง CMYK, RGB, Lab, Indexed Color และ Grayscale เหมาะสำหรับนำไปปริ้นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
เป็นไฟล์ภาพของโปรแกรม Adobe Photoshop หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของน้อง ๆ มีโปรแกรม Adobe Photoshop เมื่อเปิดไฟล์ .psd น้อง ๆ จะสามารถแก้ไขและตกแต่งภาพได้
Flash File เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวของโปรแกรม Adobe Animate และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ สนับสนุนการส่งออกไฟล์ให้เป็น Flash Movie
เป็นไฟล์จากโปรแกรม Adobe Illustrator ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีการจัดเก็บข้อมูลภาพในรูปแบบ Vector ลักษณะเด่นของไฟล์ภาพแบบ Vector คือ สามารถย่อหรือขยายภาพได้ไม่จำกัด โดยที่ภาพไม่แตก
2. ประเภทเอกสาร
Document เป็นไฟล์เอกสารเก็บข้อมูลงาน เปิดใช้งานในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
Excel เป็นไฟล์ตารางข้อมูลงาน เปิดใช้งานในโปรแกรมไมโครซอฟต์ เอ็กเซล (Microsoft Excel)
PowerPoint เป็นไฟล์สำหรับนำเสนองาน แสดงงานเป็นสไลด์ ๆ ใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์ (Microsoft PowerPoint) ในการอ่านไฟล์
PDF เป็นไฟล์ขนาดเล็ก คุณภาพสูงจากบริษัท Adobe ใช้ในการแสดงเอกสาร ซึ่งจะต้องใช้ โปรแกรม Adobe Acrobat Reader ในการเปิดอ่านไฟล์
เป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลตัวอักษรประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่รองรับข้อมูลรูปภาพ ใช้โปรแกรม NotePad, WordPad หรือ text editor ต่าง ๆ ในการเปิด
3. ประเภทบีบอัดข้อมูล
4. ประเภทเสียง
Wave ไฟล์ เป็นไฟล์เสียงมาตรฐานที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows จุดเด่นคือ เป็นไฟล์ ที่มีคุณภาพเสียงดีมากถึงมากที่สุด และยังให้เสียงในรูปแบบ Stereo ได้อีกด้วย แต่ข้อเสียคือไฟล์ .wav มีขนาดใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานจากไฟล์ Wave แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 8-10 เท่า เนื่องจากข้อมูลในไฟล์ถูกบีบอัดให้เล็กลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ใกล้เคียงต้นฉบับ และสามารถเปิดไฟล์ได้จากอุปกรณ์ที่หลากหลาย ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็น .mp4
Windows Media Audio เป็นไฟล์เสียงดิจิทัลรูปแบบใหม่กว่า MP3 มีการบีบอัดดีกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า MP3 พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กับระบบการ Streaming ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย
5. ประเภทวิดีโอ
Audio Video Interleave พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เป็นรูปแบบการบีบอัดไฟล์ข้อมูลที่น้อย เมื่อเทียบกับ Format อื่น ๆ จึงทำให้ได้ไฟล์ที่มีคุณภาพที่ดีทั้งภาพและเสียง แต่มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ เหมาะกับงานตัดต่อที่ต้องการคุณภาพสูง
เป็นรูปแบบไฟล์วิดีโอที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากให้ความคมชัดแต่มีขนาดไฟล์ที่เล็ก เปิดใช้งานกับ Divx Player หรือใช้การเข้ารหัสไฟล์ (Codec) เพื่อให้รองรับกับ Window Media Player ได้เช่นกัน
เป็นไฟล์ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล รองรับการเปิดชมผ่านโปรแกรม Quick Time เพื่อการใช้งานบนเว็บไซต์และมัลติมีเดียต่าง ๆ
Window Media Video เป็นรูปแบบไฟล์ที่ได้รับการพัฒนาจากบริษัทไมโครซอฟท์เช่นเดียวกันกับ .avi สามารถใช้งานในระบบปฏิบัติการ Window ไฟล์ WMV มักจะมีขนาดเล็ก สามารถใช้งานได้บนเว็บไซต์โดยไม่ต้องเพิ่มความเร็วในการโหลด
Moving Picture Experts Group เป็นรูปแบบไฟล์ที่ได้รับความนิยมมาก มีการบีบอัดมาก ทำให้ได้ไฟล์ขนาดเล็ก แต่ยังให้คุณภาพที่ดี แบ่งย่อยๆ ได้ 3 รูปแบบคือ MPEG-1, MPEG-2 และที่นิยมในปัจจุบันคือ MPEG 4 เพราะให้คุณภาพของการแสดงผลได้ดีแต่มีขนาดไฟล์เล็กมาก
เป็นนามสกุลไฟล์วิดีโอที่ใช้ในการบันทึกเป็น VCD รองรับการเปิดชมได้ผ่านเครื่องเล่น VCD และโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ อย่าง Power DVD หรือ Window Media Player
เป็นไฟล์วิดีโอประเภท Flash ที่ใช้งานใน youtube มีการบีบอัดไฟล์ที่มีขนาดเล็ก แต่ยังให้คุณภาพที่ดีและรักษารายละเอียดของต้นฉบับไว้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังใช้งานกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับระบบ Flash ด้วยเช่นกัน
หากเพื่อน ๆ จะนำข้อมูล ข้อความ รูปภาพ เสียง ดนตรี เพลง กราฟิก การ์ตูน อินโฟกราฟฟิก หรือไอคอนต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ทำการบ้านหรือทำรายงานส่งคุณครู เพื่อน ๆ ควรมีการอ้างอิงแหล่งที่มาด้วยนะคะ เพราะภาพหรือข้อความเหล่านั้นอาจมีลิขลิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อเป็นการให้เครดิตแหล่งที่มา และเป็นการไม่ไปละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น พึงระวังกันด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของไฟล์ จาก https://intrend.trueid.net