แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

สาระที่ 2 ข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกออนไลน์

2. ทักษะการวิเคราะห์

เอ่…ตัวตนดิจิทัลคืออะไรนะ ทำไมเวลาจะใช้งานสื่อดิจิทัลจะต้องมีการสร้างแอคเคาท์ด้วยนะ

ตัวตนดิจิทัลคือการยืนยันข้อมูลของเราในโลกดิจิทัลยังไงล่ะ ข้อมูลที่ระบุตัวตนเราว่าเราเป็นใคร ก็จะประกอบไปด้วย รูปภาพโปรไฟล์ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของเรา

แต่น้อง ๆ รู้ไหมว่า ข้อมูลของเราในโลกดิจิทัลนี่แหละ คือข้อมูลที่เหล่าแฮกเกอร์ต้องการ เพื่อนำไปทำให้สิ่งที่ประสงค์ร้ายได้ง่าย ๆ เลย เรามาดูกันว่าข้อมูลอะไรบ้างที่เหล่าแฮกเกอร์ต้องการเมื่อเราทำการแชร์ข้อมูลส่วนตัวออกไป

ข้อมูลทั้งหมดนี้ ไม่ควรนำมาเผยในสื่อออนไลน์ เพราะข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกโจรกรรมข้อมูลทางดิจิทัลได้นะครับ

แล้วมีวิธีโกงแบบอื่น ๆ อีกไหมครับ?

อย่างที่น้อง ๆ ทราบกันดีแล้วว่า ข้อมูลส่วนตัวของเราเมื่อตกไปอยู่ในมือของแฮกเกอร์จะเป็นอย่างไร และนอกเหนือจากนั้น ยังมีมิจฉาชีพที่ไม่ใช่แฮกเกอร์ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลของเราได้อีกด้วยนะครับ เรามาทำความรู้จักกับกลโกงออนไลน์ที่พบได้บ่อย ๆ กันเลยครับ

1. หลอกขอรหัสผ่านการใช้งานบัญชีอีเมล

     มิจฉาชีพจะส่งอีเมลแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการบัญชีอีเมลหลอกขอชื่อบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน โดยอ้างว่าเจ้าของอีเมลจะต้องยืนยันการใช้งานอีเมล เมื่อมิจฉาชีพได้อีเมลและรหัสผ่านของเราไปแล้ว มิจฉาชีพก็จะใช้อีเมลเราเพื่อส่งอีเมลไปหาเพื่อน ๆ แล้วหลอกขอให้เพื่อนโอนเงินให้

2. แอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ หลอกว่าจะโอนเงินหรือส่งของให้

     มิจฉาชีพจะแอบอ้างว่าจะส่งของหรือเงินสดมาให้ทางไปรษณีย์ เมื่อเหยื่อได้รับหลักฐานการโอนเงินหรือการส่งของจากมิจฉาชีพ ก็หลงเชื่อว่ามิจฉาชีพได้โอนเงินหรือส่งของนั้นมาจริง ๆ และมิจฉาชีพจะหลอกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จากเหยื่อ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ค่าดำเนินการ ค่าภาษีการนำเข้า

3. โฆษณาปล่อยเงินกู้นอกระบบ

     มิจฉาชีพมักจะแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้แล้วโฆษณาผ่านเว็บไซต์ว่าให้บริการเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเงินเร็ว ไม่ต้องซื้อสินค้า ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร เมื่อเหยื่อติดต่อไปและขอกู้เงิน มิจฉาชีพจะขอให้เหยื่อโอนเงินชำระค่าทำสัญญา ค่าเอกสาร ค่ามัดจำ หรือดอกเบี้ยภายในเวลาที่กำหนด

4. แอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ หลอกให้เหยื่อโอนเงินให้

     มิจฉาชีพอาจแอบอ้างเป็นบริษัทต่างชาติ ติดต่อไปยังเหยื่อที่ประกาศสมัครงานในอินเทอร์เน็ต โดยแจ้งว่ารับเหยื่อเข้าทำงาน แต่เหยื่อต้องจ่ายค่าใบอนุญาตทำงานในต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่บริษัทนั้นไม่มีอยู่จริง

5. ขอเลขที่บัญชีเงินฝากเป็นที่พักเงิน

     มิจฉาชีพจะหลอกหลอกว่าเป็นบุคคลที่ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก จึงขอให้เหยื่อทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมเงินให้ โดยจ่ายค่าจ้างเป็นสัดส่วนกับเงินที่ได้รับ เช่น ร้อยละ25 ของเงินค่าสินค้า เป็นต้น โดยที่เหยื่อไม่รู้เลยว่าเงินเหล่านั้นเป็นเงินผิดกฎหมาย

น่ากลัวจังเลยนะคะ แล้วแบบนี้เราจะป้องกันตัวเองยังไงคะ?

วิธีป้องกันจากกลโกง ทำได้ดังต่อไปนี้นะครับ

การติดตามข่าวสารกลโกงออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อเป็นการป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านั้น แต่ถ้าน้อง ๆ ป้องกันตัวเองแล้วยังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ สิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ มีดังนี้

  1. หากถูกแอบอ้างใช้บัญชีอีเมล ควรติดต่อผู้ให้บริการอีเมลทันที เพื่อแจ้งเปลี่ยนรหัสผ่าน
  2. ในกรณีที่โอนเงินให้แก่มิจฉาชีพแล้ว ให้รีบติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของสถาบันการเงินเพื่อระงับการโอนและการถอนเงิน หากไม่สามารถระงับการโอนเงินได้ให้รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมทั้งลงบันทึกประจำวัน ณ ท้องที่เกิดเหตุเลยนะครับ
 
ขอบคุณข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ กลโกงออนไลน์ จาก ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน  ธนาคารแห่งประเทศไทย