3. ทักษะการประเมิน
การประเมินเนื้อหาในสื่อออนไลน์ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1. โฆษณาชวนเชื่อ
แบรนด์สินค้า ครีมบำรุงผิว “เนี้ยนเนียน”
จากตัวอย่าง น้อง ๆ จะเห็นได้ว่า การโฆษณาชวนเชื่อเหล่านี้ มีการใช้ข้อความนำเสนอแบบโอ้อวดผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์ที่เกินจริง ดังนั้น การเลือกบริโภคสินค้าในแต่ละครั้ง ควรจะต้องศึกษาถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้น เราจะตกเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อ ที่จะต้องรับผลกระทบหรือความเสียหายที่ตามมาได้
หากน้อง ๆ พบเห็นโฆษณาที่น่าสงสัย สามารถร้องเรียนได้ที่ “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (สายด่วน อย. 1556)” หรือ “สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สายด่วน สคบ. 1166)” เพื่อให้ผู้บริโภคและคนรอบ ข้างปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณาเกินจริง
2. การพนันออนไลน์
บุกจับเว็บพนันออนไลน์
จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่า เว็บไซต์การพนันออนไลน์ มักจะใช้วิธีการล่อลวงให้คนเข้ามาเล่นการพนัน โดยใช้วิธีการโฆษณาให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเล่นการพนันแล้วจะได้ผลตอบแทนจำนวนมาก หากหลงไปเล่นพนันออนไลน์ นอกจากจะผิดกฎหมายติดคุกแล้ว ยังต้องเสียเงินและสมบัติอื่น ๆ อีกด้วย เพราะพนันออนไลน์ไม่มีใครที่เล่นแล้วรวยนะครับ
3. สื่อลามกอนาจาร
จับหนุ่มทำคลิปแอบถ่ายขายในโลกออนไลน์
จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่า สื่อสังคมออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มิจฉาชีพนำช่องทางดังกล่าวมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าโดยการเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยวิธีการใช้บัญชีที่เปิดเป็นสาธารณะ โพสต์ข้อมูลรูปและคลิปที่มีลักษณะยั่วยวนน่าสนใจเพียงครึ่งเดียว เพื่อเป็นการประกาศโฆษณาและจูงใจ ให้อยากเข้าชมข้อมูลแบบเต็มในกลุ่มลับที่คนร้ายเป็นผู้ดูแลอยู่ โดยแลกกับการโอนเงินจ่ายค่าสมัครสมาชิกกลุ่มลับ
4. การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying)
ดาราสาว ฟ้อง เกรียนคีบอร์ด
การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่โดดเด่นมากกว่าในสมัยอดีต เพราะสื่อดิจิทัลเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย การข่มเหงรังแกทางไซเบอร์แยกออกมาจากการข่มเหงรังแกทางสังคม เพราะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบทางสื่อดิจิทัลทั้งหมด เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ และติ๊กต๊อก ในการพูดเชิงให้ร้าย เสียดสี ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่น การโพสต์ข้อความไม่ดี การส่งภาพหรือคลิปวิดีโอที่ทําให้อับอาย การแอบอ้างชื่อ การดัดแปลงรูปภาพผู้อื่น การเปิดเผยความลับส่วนตัวผู้อื่น การเผยแพร่ข้อมูลปลอมของผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น
5. การลงทุนแชร์ลูกโซ่/แชร์ออนไลน์
ตำรวจทลายเครือข่ายแชร์ลูกโซ่
จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่าการแชร์ลูกโซ่หรือแชร์ออนไลน์มักจะมีคนมาชักชวนให้เราเอาเงินไปลงทุน โดยจะเน้นย้ำคำพูดที่ว่า ใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้กำไรสูง หากเราพลาดไปลงทุนหรือตกเป็นเหยื่อแล้วจะทำให้สูญเสียเงิน และเสียสุขภาพจิตจากการวิตกกังวลอีกด้วย ดังนั้น หากมีใครมาชักชวนให้น้อง ๆ นำเงินมาลงทุนในลักษณะนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นกลลวงของการแชร์ออนไลน์
6. การลงทุนเงินกู้นอกระบบ
เด็กกตัญญูเหยื่อกู้ออนไลน์
การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่โดดเด่นมากกว่าในสมัยอดีต เพราะสื่อดิจิทัลเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย การข่มเหงรังแกทางไซเบอร์แยกออกมาจากการข่มเหงรังแกทางสังคม เพราะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบทางสื่อดิจิทัลทั้งหมด เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ และติกต๊อก ในการพูดเชิงให้ร้าย เสียดสี ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่น การโพสต์ข้อความไม่ดี การส่งภาพหรือคลิปวิดีโอที่ทําให้อับอาย การแอบอ้างชื่อ การดัดแปลงรูปภาพผู้อื่น การเปิดเผยความลับส่วนตัวผู้อื่น การเผยแพร่ข้อมูลปลอมของผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น
7. การหลอกให้ซื้อของออนไลน์
รวบสาวแสบ หลอกขายไอโฟน
จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่า การหลอกลวงประชาชนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ปัจจุบันมีจำนวนมาก และในแต่ละคดีมักจะมีผู้เสียหายจำนวนมากและมูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท ดังนั้น หากน้อง ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้าออนไลน์ ควรตรวจสอบข้อมูลคนขายให้แน่ชัดว่ามีตัวตนอยู่จริง มีร้านค้าจริง และเคยมีประวัติการซื้อขายที่น่าเชื่อถือ หากมีการเสนอขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าปกติจนน่าตกใจ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพครับ