แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

สาระที่ 2 การประเมินเนื้อหาในสื่อออนไลน์

3. ทักษะการประเมิน

     การประเมินเนื้อหาในสื่อออนไลน์ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ ดังนี้

1. โฆษณาชวนเชื่อ

แบรนด์สินค้า ครีมบำรุงผิว “เนี้ยนเนียน”

ครีมบำรุงผิว เนี้ยนเนียน ใช้ 3 วัน เห็นผลจริง จากผิวคล้ำดำ ขาวใสทันที หลังใช้ภายใน 3 วัน ขาวทันตาเห็น ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ และวิตามินที่เข้าไปบำรุงและเปลี่ยนสีผิวอย่างล้ำลึก โปรโมชั่นพิเศษ ซื้อวันนี้แถมฟรี 1 ขวด ราคาปกติจาก 7,990 เหลือ 790 บาท
C03-03

     จากตัวอย่าง น้อง ๆ จะเห็นได้ว่า การโฆษณาชวนเชื่อเหล่านี้ มีการใช้ข้อความนำเสนอแบบโอ้อวดผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์ที่เกินจริง ดังนั้น การเลือกบริโภคสินค้าในแต่ละครั้ง ควรจะต้องศึกษาถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้น เราจะตกเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อ ที่จะต้องรับผลกระทบหรือความเสียหายที่ตามมาได้

     หากน้อง ๆ พบเห็นโฆษณาที่น่าสงสัย สามารถร้องเรียนได้ที่ “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (สายด่วน อย. 1556)” หรือ “สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สายด่วน สคบ. 1166)” เพื่อให้ผู้บริโภคและคนรอบ ข้างปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณาเกินจริง

2. การพนันออนไลน์

บุกจับเว็บพนันออนไลน์

จับเว็บพนันออนไลน์ พบกำลังเปิดให้บริการเล่นการพนันออนไลน์ เจอเงินหมุนเวียนในบัญชีกว่า 250 ล้านบาท จากการสอบสวนพบว่า ผู้ต้องหาได้มีการจัดให้มีการเล่น หรือทำอุบาย ล่อ ช่วยประกาศโฆษณา หรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่น หรือเข้าพนันออนไลน์โดยมิได้รับอนุญาต จากการเปิดเว็ปไซต์พนันออนไลน์จำนวน 2 เว็บไซต์ รวมเงินหมุนเวียนทั้ง 2 เว็บไซต์ช่วง 6 เดือนประมาณ 250 ล้านบาท

จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่า เว็บไซต์การพนันออนไลน์ มักจะใช้วิธีการล่อลวงให้คนเข้ามาเล่นการพนัน โดยใช้วิธีการโฆษณาให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเล่นการพนันแล้วจะได้ผลตอบแทนจำนวนมาก หากหลงไปเล่นพนันออนไลน์ นอกจากจะผิดกฎหมายติดคุกแล้ว ยังต้องเสียเงินและสมบัติอื่น ๆ อีกด้วย เพราะพนันออนไลน์ไม่มีใครที่เล่นแล้วรวยนะครับ

3. สื่อลามกอนาจาร

จับหนุ่มทำคลิปแอบถ่ายขายในโลกออนไลน์

เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบสื่อลามกออนไลน์ คลิปแอบถ่าย พร้อมจับกุมหนุ่มเผยแพร่คลิปอนาจาร แลกค่าสมาชิกในกลุ่มลับ สร้างรายได้กว่า 1 แสนบาทต่อเดือน ผู้ต้องหาสารภาพว่ามีสมาชิกกว่า 700 คน และมีผู้ติดตามอีกกว่า 8 พันคน จากการตรวจสอบพบว่ามีข้อมูลผู้เสียหายที่ถูกมิจฉาชีพแอบถ่ายกว่า 1,770 ไฟล์ เจ้าหน้าที่ระบุว่าผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่า สื่อสังคมออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มิจฉาชีพนำช่องทางดังกล่าวมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าโดยการเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยวิธีการใช้บัญชีที่เปิดเป็นสาธารณะ โพสต์ข้อมูลรูปและคลิปที่มีลักษณะยั่วยวนน่าสนใจเพียงครึ่งเดียว  เพื่อเป็นการประกาศโฆษณาและจูงใจ ให้อยากเข้าชมข้อมูลแบบเต็มในกลุ่มลับที่คนร้ายเป็นผู้ดูแลอยู่ โดยแลกกับการโอนเงินจ่ายค่าสมัครสมาชิกกลุ่มลับ

4. การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying)

ดาราสาว ฟ้อง เกรียนคีบอร์ด

ดาราสาวควงทนาย นำเอกสารหลักฐานมายื่นฟ้องต่อศาลอาญา เอาผิดกับบุคคลที่แสดงข้อความและความคิดเห็นเข้าข่ายหมิ่นประมาท และดูหมิ่นในโซเชียลมีเดีย ทำให้ได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เบื้องต้นจะดำเนินการฟ้องผู้ที่มีพฤติกรรมกระทำผิดซ้ำและชัดเจน มากที่สุด โดยเรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท และยังมีรายชื่อที่รวบรวมมาได้อีก 32 คน ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการฟ้องทางอาญา

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่โดดเด่นมากกว่าในสมัยอดีต เพราะสื่อดิจิทัลเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย การข่มเหงรังแกทางไซเบอร์แยกออกมาจากการข่มเหงรังแกทางสังคม เพราะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบทางสื่อดิจิทัลทั้งหมด เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ และติ๊กต๊อก ในการพูดเชิงให้ร้าย เสียดสี ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่น การโพสต์ข้อความไม่ดี การส่งภาพหรือคลิปวิดีโอที่ทําให้อับอาย การแอบอ้างชื่อ การดัดแปลงรูปภาพผู้อื่น การเปิดเผยความลับส่วนตัวผู้อื่น การเผยแพร่ข้อมูลปลอมของผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น

5. การลงทุนแชร์ลูกโซ่/แชร์ออนไลน์

ตำรวจทลายเครือข่ายแชร์ลูกโซ่

คนร้ายให้การสารภาพว่า มีการชักชวนให้เหยื่อลงทุนตามแพ็กเก็จที่กำหนดมาให้ และเน้นข้อความว่า ใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้กำไรสูง และมีการจ่ายผลตอบแทนทุก ๆ 10 วัน โดยช่วงแรก ๆ จะมีการจ่ายผลตอบแทนให้จริง เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ แล้วคนร้ายจะชักชวนให้เหยื่อลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเหยื่อลงทุนเป็นจำนวนมาก คนร้ายจะแจ้งเหยื่อว่าจะหยุดจ่ายผลตอบแทนเป็นเงินสด แต่จะจ่ายเป็นเงินดิจิทัล ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการหลอกลวงของคนร้าย ทำให้ผู้เสียหายจำนวนมากหลายพันคน รวมความเสียหายรวมเป็นเงินรวมกันประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท

จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่าการแชร์ลูกโซ่หรือแชร์ออนไลน์มักจะมีคนมาชักชวนให้เราเอาเงินไปลงทุน โดยจะเน้นย้ำคำพูดที่ว่า ใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้กำไรสูง หากเราพลาดไปลงทุนหรือตกเป็นเหยื่อแล้วจะทำให้สูญเสียเงิน และเสียสุขภาพจิตจากการวิตกกังวลอีกด้วย ดังนั้น หากมีใครมาชักชวนให้น้อง ๆ นำเงินมาลงทุนในลักษณะนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นกลลวงของการแชร์ออนไลน์

6. การลงทุนเงินกู้นอกระบบ

เด็กกตัญญูเหยื่อกู้ออนไลน์

มีผู้เสียหายเด็กหญิงอายุ 15 ปี ตกเป็นเหยื่อ “ฉ้อโกงทางออนไลน์” ในรูปแบบเงินกู้ เพียงเพราะต้องการกู้เงินเพื่อมาลงทุนขายของออนไลน์ แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ ซึ่งครอบครัวมีความขัดสนทางด้านการเงินอยู่แล้ว ยังถูกหลอกให้โอนเงินในรูปแบบการดำเนินการก่อนกู้เงิน 5 ครั้ง โดยคนร้ายยอมรับว่ามีการโฆษณาปล่อยเงินกู้นอกระบบตามสื่อออนไลน์ เมื่อมีเหยื่อสนใจจะกู้เงิน คนร้ายจะให้โอนเงินค่าทำสัญญาและค่าดำเนินการต่าง ๆ เข้าบัญชีเงินฝากที่ขโมยมาอีกทีหนึ่ง เมื่อเหยื่อโอนเงินเรียบร้อยแล้วก็จะปิดช่องทางการติดต่อแล้วหนีหายไป

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่โดดเด่นมากกว่าในสมัยอดีต เพราะสื่อดิจิทัลเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย การข่มเหงรังแกทางไซเบอร์แยกออกมาจากการข่มเหงรังแกทางสังคม เพราะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบทางสื่อดิจิทัลทั้งหมด เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ และติกต๊อก ในการพูดเชิงให้ร้าย เสียดสี ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่น การโพสต์ข้อความไม่ดี การส่งภาพหรือคลิปวิดีโอที่ทําให้อับอาย การแอบอ้างชื่อ การดัดแปลงรูปภาพผู้อื่น การเปิดเผยความลับส่วนตัวผู้อื่น การเผยแพร่ข้อมูลปลอมของผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น

7. การหลอกให้ซื้อของออนไลน์

รวบสาวแสบ หลอกขายไอโฟน

ตำรวจได้จับกุมผู้กระทำความผิด โดยหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ หลอกขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในราคาประมาณ 11,000-12,000 บาท ในแอปพลิเคชันอินสตาแกรม เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและสนใจซื้อโทรศัพท์ คนร้ายจะใช้กลอุบายสร้างความน่าเชื่อถือว่ามีสินค้าจริง และจะแถมอุปกรณ์เสริมจำนวนหลายรายการให้ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงินให้ เมื่อเหยื่อโอนเงินให้คนร้ายก็ไม่ยอมส่งโทรศัพท์ให้ และเมื่อเหยื่อได้ทวงถาม ก็ได้บ่ายเบี่ยงที่จะส่งสินค้า และจะบล็อกผู้เสียหายทันทีจนไม่สามารถติดต่อได้

จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นได้ว่า การหลอกลวงประชาชนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ปัจจุบันมีจำนวนมาก และในแต่ละคดีมักจะมีผู้เสียหายจำนวนมากและมูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท ดังนั้น หากน้อง ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้าออนไลน์ ควรตรวจสอบข้อมูลคนขายให้แน่ชัดว่ามีตัวตนอยู่จริง มีร้านค้าจริง และเคยมีประวัติการซื้อขายที่น่าเชื่อถือ หากมีการเสนอขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าปกติจนน่าตกใจ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพครับ